โครงการ เรื่อง  การพัฒนาทักษะภาษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
(ในความร่วมมือกับเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด )


1. ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียนของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด  นับเป็นการส่งเสริมศักยภาพภาษาและวิทยาการสนเทศโดยเกิดเครือข่ายระหว่างผู้บริหารเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด บุคลากรในหน่วยงานเทศบาลร้อยเอ็ด ผู้บริหารโรงเรียน ครูอาจารย์ และนักเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดจำนวน  8 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง (ท.รอ.1)   โรงเรียนเทศบาลวัดบูรพาภิราม (ท.รอ.2) โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ (ท.รอ.3)   โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร (ท.รอ.4)   โรงเรียนชุมชนบ้านหนองหญ้าม้า (ท.รอ.5) โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน (ท.รอ.6) โรงเรียนเทศบาลวัดราษฎรอุทิศ (ท.รอ.7) และโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด (อ.ท.รอ)

2.    ผู้รับผิดชอบโครงการ
2.1     คณะกรรมการผู้ดำเนินการ
นายนุชากร มาศฉมาดล                                      ประธานกรรมการ        
นายธรรมศักดิ์ ชิตทรงสวัสดิ์                                  รองประธานกรรมการ
ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง (ท.รอ.1)              กรรมการ
ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลวัดบูรพาภิราม (ท.รอ.2)                   กรรมการ
ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ (ท.รอ.3)                 กรรมการ
ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร (ท.รอ.4)              กรรมการ
ผู้บริหารโรงเรียนชุมชนบ้านหนองหญ้าม้า (ท.รอ.5)       กรรมการ
ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน (ท.รอ.6)              กรรมการ
ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลวัดราษฎรอุทิศ (ท.รอ.7)                  กรรมการ
ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด (อ.ท.รอ)    กรรมการ
ครูแกนนำโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง (ท.รอ.1)            กรรมการ
ครูแกนนำโรงเรียนเทศบาลวัดบูรพาภิราม (ท.รอ.2)            กรรมการ
ครูแกนนำโรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ (ท.รอ.3)                   กรรมการ
ครูแกนนำโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร (ท.รอ.4)               กรรมการ
ครูแกนนำโรงเรียนชุมชนบ้านหนองหญ้าม้า (ท.รอ.5)        กรรมการ
ครูแกนนำโรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน (ท.รอ.6)               กรรมการ
ครูแกนนำโรงเรียนเทศบาลวัดราษฎรอุทิศ (ท.รอ.7)          กรรมการ
ครูแกนนำโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด (อ.ท.รอ)      กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ พรพัชรพงศ์                       กรรมการและเลขานุการ

      2.2     หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ : กองการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

2.3      ผู้ทรงคุณวุฒิและประสานงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ พรพัชรพงศ์
คณะวิทยาการสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต.ขามเรียง  อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150
โทรศัพท์  (081) 262-8091 
email: jaom97@gmail.com

3.    ที่ปรึกษาโครงการ : คณะกรรมการบริหารเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด


4.    สถานที่ตั้งโครงการ : เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด  จ.ร้อยเอ็ด

5.   ระยะเวลาดำเนินการ : ปีงบประมาณ 2555 – 2556

6.   เหตุผลความจำเป็น
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นองค์กรปกครองในรูปแบบของการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของเทศบาลสำหรับเมืองขนาดกลาง จัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองกระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลเมืองตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดมีนายกเทศมนตรีทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารและมีสภาเทศบาลซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 18 คนที่ราษฎรในเขตเทศบาลเลือกตั้งมาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรในเขตเทศบาล โดยเทศบาลเมืองมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและความสะอาด สร้างและบำรุงถนนและท่าเรือ ดับเพลิงและกู้ภัย จัดการศึกษา ให้บริการสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และรักษาวัฒนธรรมอันดีในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังอาจจัดให้มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่น ๆ ได้ตามสมควร  ประชากร        ในปีพ.ศ. 2554 มีประชากรจำนวน 37,131 คน
การมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยในปีพ.ศ. 2558  ส่งผลให้เทศบาลร้อยเอ็ดตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าวเนื่องจาก   อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  มีสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม สปป.ลาว พม่า และ กัมพูชา ในปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ 
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก  หรือเรียกว่าเป็นสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนคือ เสาการเมืองและความมั่นคง เสาเศรษฐกิจ และเสาสังคมและวัฒนธรรม

              ดังนั้น “การขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียนของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด“ จึงมีบทบาทความสำคัญและเป็นภารกิจหลักเร่งด่วนในการผลิตบุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียนให้พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานของประชาคมอาเซียน  ท่ามกลางกระแสความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการปรับตัวเพื่อการสื่อสารของแรงงานในสภาพการแข่งขันและการพัฒนาเทศบาลร้อยเอ็ดเข้าสู่องค์กรคุณภาพระดับโลก

7.   วัตถุประสงค์
     7.1 เพื่อขับเคลื่อนเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตามยุทธศาสตร์ของประเทศในปี 2558       

7.2 เพื่อส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
7.3 เพื่อสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนระหว่างประเทศไทยและ
กลุ่มประเทศอาเซียน
7.4 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการงานวิจัยที่ส่งเสริมการศึกษาระหว่างประเทศโดยใช้ความรู้ด้านวิทยาการ
สารสนเทศเป็นหลัก ได้แก่  การสื่อสาร การจัดการสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
7.5 เพื่อให้มีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาเพื่อการ
สื่อสาร
7.6 เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดและการให้บริการผู้ใช้ชาวต่างประเทศ
7.7 เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการให้มีขีดความสามารถเพียงพอต่อการให้บริการ             การดำเนินงานทางวิชาการและการแข่งขันทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
7.8 เพื่อเป็นสร้างเครือข่ายบุคลากรทางการศึกษาและวิทยาการสารสนเทศระหว่างประชาคมอาเซียน

 

8.  การควบคุมมาตรฐานและคุณภาพในการดำเนินงาน
               เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ยึดเกณฑ์การควบคุมมาตรฐาน และคุณภาพในการดำเนินงานที่สอดคล้องตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

 

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.1   ผลโดยตรง
9.1.1   เตรียมความพร้อมของบุคลากรและชุมชนเทศบาลในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
9.1.2   เป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้กลยุทธ์ความร่วมมือทางการศึกษาและวิทยาการสารสนเทศ
9.2   ผลทางการศึกษา
9.2.1   เปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคลากรการศึกษาและนักเรียน ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในประชาคมอาเซียน
9.2.2   เตรียมแรงงานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่มีความพร้อมด้านภาษา  การจัดการสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
9.3   ผลทางด้านเศรษฐกิจ
9.3.1   ลดค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของประชากรโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาทางไกลเป็นกลยุทธ์หลัก
9.3.2   เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการในท้องถิ่น  การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการท้องถิ่น
9.4   ผลทางอ้อม
9.4.1   กระจายความเจริญสู่ชุมชนท้องถิ่น
9.4.2   สร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม

<< back wilawan.6te.net

Free Web Hosting