1202235 การปรับแต่งสารสนเทศ

Information Consolidation 

แบ่งเนื้อหาเป็น 5 บท ดังรายละเอียดดังนี้

บทที่ 1  สารสนเทศและกระบวนการปรับแต่งสารสนเทศ

การปรับแต่งสารสนเทศ (Consolidation) หมายถึง  การแปลงหรือการปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอสารสนเทศให้อยู่ในลักษณะและรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถใช้และเข้าใจได้ง่าย

กระบวนการปรับแต่งสารสนเทศ มีดังต่อไปนี้
1. การศึกษาผู้ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศ (Study of potential users)
2. การคัดเลือกแหล่งสารสนเทศ  และประเมินคุณค่าสารสนเทศ(Selection of information sources and evaluation of information) 3.การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์สารสนเทศ (Analyzing and synthesizing information)
4. การปรับโครงสร้างของสารสนเทศ (Restructuring of information)
5. การจัดบรรจุสารสนเทศที่ปรับโครงสร้างแล้ว (Packaging and / or repackaging of restructured of information)
6. การเผยแพร่ และการตลาดสารสนเทศสำเร็จรูป (Dissemination and marketing repackaged information)                     7.การประเมินผลสารสนเทศสำเร็จรูป (Evaluation of repackaged information)

บทที่ 2         

ปัจจัยเกื้อกูลการปรับแต่งสารสนเทศ

ปัจจัยที่เกื้อกูลการปรับแต่งสารสนเทศสามารถพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ความตรงกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
2. ความถูกต้องของเนื้อหา
3. ความเหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อ
4. ความคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียม
5. การกระตุ้นความสนใจและการเรียนรู้ในการใช้

บทที่ 3 

การกำหนดและการศึกษากลุ่มเป้าหมาย

เพื่อการปรับแต่งสารสนเทศ

ผู้ใช้สารสนเทศนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งและบริการสารสนเทศให้บริการแก่ผู้ใช้หลายระดับ และเพื่อประโยชน์ ที่ต่างวัตถุประสงค์กันออกไป

กลุ่มผู้ใช้ห้องสมุด ได้แบ่งกลุ่มผู้ใช้ออก เป็น 6 ระดับ ดังต่อไปนี้ คือ

1. กลุ่มผู้ใช้ระดับโรงเรียน : ได้แก่ นักเรียน

2. กลุ่มผู้ใช้ระดับประชาชน      : กลุ่มประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้รู้หนังสือน้อย และใช้บริการสารสนเทศ ค่อนข้างน้อย

3. กลุ่มผู้ใช้ระดับการศึกษาชั้นสูง :ได้แก่ อาจารย์ นิสิต นักศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย

4. กลุ่มผู้ใช้ระดับการค้นคว้าวิจัยที่ลึกซึ้ง : กลุ่มผู้ใช้ที่พึ่งตนเองได้มากที่สุด ผู้ใช้กลุ่มนี้มีความรู้เรื่องที่ตนเองจะค้นคว้าได้อย่างลึกซึ้ง

5. กลุ่มผู้ใช้ระดับผู้บริหาร : ได้แก่ กลุ่มระดับผู้บริหารในหน่วย งานต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐบาล ผู้บริหารจะอาศัยข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร หรือ เพื่อจัดการ (management information system - MIS)

6. กลุ่มผู้ใช้ระดับผู้บริการผู้ใช้สารสนเทศ : ได้แก่ ผู้ให้บริการสารสนเทศ คือ บรรณารักษ์และนักสารสนเทศ

บทที่ 4

การจัดเข้าชุดสารสนเทศที่ปรับแต่งแล้ว

 

สารสนเทศที่ปรับแต่งแล้วสามารถแบ่งได้ตามรูปแบบดังต่อไปนี้

    1. สื่อสิ่งพิมพ์
    2. สื่อไม่ตีพิมพ์
    3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์

บทที 5          

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปรับแต่ง

และกระจายสารสนเทศที่ปรับแต่งแล้ว

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปรับแต่งสารสนเทศสำคัญ ได้แก่ มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือ สื่อหลายแบบ" เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ สามารถผสมผสานกันระหว่าง

1. ข้อความ

2. ข้อมูลตัวเลข

3.ภาพนิ่ง

4. ภาพเคลื่อนไหว

5. เสียง

6.ระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive)

<< back wilawan.6te.net

Free Web Hosting